กำจัด ข้าวดีด ข้าวเด้ง ระมาน คุม-ฆ่าหญ้าดื้อยา อายุ 10 -100 วัน


ปัญหาเมล็ดข้าวดีดจะสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
ควรกำจัดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยใช้สารย่อยฟาง ซึ่งจะสามารถช่วยย่อยเมล็ดข้าวดีดและเมล็ดวัชพืชอื่นๆได้ด้วย ซึ่งทางบริษัทขอแนะนำ สารย่อยฟางชื่อ ไดเจส+A-100 ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาข้าวดีดลดลง 90% จะสะดวก สบายในการใช้งานมากกว่า
สายด่วนเกษตร: 087-9181778  ป.เคมีภัณฑ์

ป.เคมีภัณฑ์ ณ.สิงห์บุรี โทร.087-9181778 รับกำจัดหญ้าวัชรพืชนาข้าวทุกชนิด........อายุหญ้า10–100วัน โดยที่ไม่ต้องปล่อยน้ำออก ฉีดได้มีน้ำครึ่งหน้าแข้ง ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยยูเรีย46-0-0 ข้าว 10-15วันเสียด้วยซ้ำ  ( อุปสรรคมันเยอะ น้ำแห้งบ่อย ,ฉีดไม่ทั่ว ,ที่นาเอียงๆ,เจ้าของแปลงนาไม่เอาใจใส่)  ควรฉีด “A-100” เวลา 08.00-9.30 น.เท่านั้น  ผสมกับยาเคมีที่ทางทีมงานทดลองแล้วประสบความสำเร็จเท่านั้น
เกษตรกรนาหว่านปกติใช้สารเคมี คุมเลนช่วง 0-4 วันด้วย สารเคมี เพรทิลาคลอร์ หรือ บิวทาคลอร์ ตามปกติ
คุม-ฆ่า ช่วง 10-15 วันด้วยสารเคมี โคลมาโซน+โพพานิล หรือ บิวทาคลอร์+โพพานิล ตามปกติที่เคยปฏิบัติกันมา  ปรากฏว่า  หญ้าไม่ตาย
**จำไว้น่ะ สไตล์เฉิน ถ้าไม่ลองจนแน่ใจ จะไม่โฆษณาไปวันๆ ***
         ทำแปลงทดลองก่อนขายจริง.....ตายค่อยซื้อกัน ---- 1 เดือนต่อ เราทำแปลงรอบๆร้าน ทั้งนาดำ นาหว่าน หญ้าทุกประเภทสีม่วงอ่อน ม่วงสะท้อนแสง ม่วงเขียวอมแดงประกายทองแดง .........ปรากฏว่า  ยาเคมีที่ใช้หลากหลายบริษัทเพื่อหาข้อสรุป(จะได้ไม่ต้องบ่นว่า จะตายเหรอ)  ฉะนั้นวันนี้เราขอประกาศว่า ประสบความสำเร็จ เก็บ---ฆ่าหญ้าอายุ 20-40 วันสำเร็จแล้ว
      การจำแนกชนิดของวัชพืชนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้วางแผนการป้องกันและกำจัดให้ถูกวิธีและถูกเวลา ทั้งนี้สามารถจำแนกวัชพืชเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้
        1.วัชพืชใบแคบ (หรือวัชพืชตระกูลหญ้า) เช่นหญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง หญ้าดอกขาว
        2.วัชพืชใบกว้าง มีลักษณะเป็นพวกพืชใบเลี้ยงคู่ ใบกว้าง เช่น ผักปอดนา ผักบุ้ง เทียนนา
        3.วัชพืชตระกูลกก ลักษณะทรงต้นคล้ายหญ้า แต่ลำต้นไม่มีข้อ ไม่มีปล้อง ลำต้นเป็นหลอด หรือรูปสามเหลี่ยม ได้แก่ กกทราย กกสามเหลี่ยม กกขนาก หนวดปลาดุก
        4.วัชพืชประเภทเฟิร์น ไม่มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยส่วนของลำต้น และอับเรณู เช่น ผักแว่น ผักกูดนา
        5.วัชพืชประเภทสาหร่าย เป็นพืชชั้นต่ำ ราก ลำต้นและใบไม่แตกต่างกัน เช่น สาหร่ายไฟ        
        ชนิดของวัชพืชที่ชอบขึ้นในนาข้าวที่ปลูกด้วยวิธีต่างๆ
        -นาปักดำ : หญ้าข้าวนก ผักปอดนา ขาเขียด ผักตับเต่า เทียนนา กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น สาหร่ายไฟ
        -นาหว่านน้ำตม : หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง ผักปอดนา ขาเขียด กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก ผักแว่น
        -นาหว่านข้าวแห้ง : หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว หญ้าแดง หญ้าหางหมา หญ้ากุศลา ผักปราบนา ผักบุ้ง เซ่งใบยาว เซ่งใบมน โสน กกทราย กกขนาก หนวดปลาดุก
ระดับความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืช
        การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดใดก็ตาม ผู้ใช้ต้องมีความระมัดระวังในระหว่างการใช้ฉีดพ่นสารเหล่านั้น เพราะสารแต่ละชนิดมีความเป็นพิษในระดับต่างๆกัน การจัดระดับความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นเคมีภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด สามารถสังเกตได้จากแถบสีที่ฉลากข้างขวด มีอยู่ด้วยกัน 4 สี
        
สีแดง     หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ร้ายแรง
        
สีเหลือง หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ ปานกลาง
        
สีน้ำเงิน  หมายถึง สารเคมีที่มีระดับความเป็นพิษ น้อย

  

เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต
อาชีพหลักของคนไทย ร้อยละ 80 คืออาชีพทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาถือว่าเป็นหัวใจ
สำคัญที่ สุดของการทำการเกษตร แต่เนื่องจากว่าเกษตรกรได้ปลูกข้าวมานาน การปรับปรุงบำรุงดินให้คืนสภาพเดิมมีน้อยมากนั่นคือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การเผาตอซังหรือการเผาฟางยิ่งทำให้เกิดผลเสียกับดินมากกว่าผลดีที่จะได้รับ เพราะเป็นการเผาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และยังเผาทำลายสัตว์เล็ก ๆ ในดิน ซึ่งดินที่ถูกเผาก็จะแห้งแข็ง ดินจะตายปลูกพืชจะไม่เติบโต พืชแคระแกรน การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่มากก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และถ้ามีการใช้อย่างต่อเนื่องดินก็จะเสียเช่นกัน การตัดใบข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตของข้าวก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ เพราะใบข้าวที่ถูกตัดออกก็จะเน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าวได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการตัดใบข้าว
1. ถ้าทำนาในช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ทำการตัดใบข้าว 3 ครั้งดังนี้
1.1 ตัดครั้งที่ 1 ต้นเดือนกรกฎาคม
1.2 ตัดครั้งที่ 2 ต้นเดือนสิงหาคม
1.3 ตัดครั้งที่ 3 ต้นเดือนกันยายน (ไม่ควรเกินวันที่ 5 กันยายน จะเป็นการเสี่ยงเกินไป
เพราะช่วงเวลาดังกล่าวข้าวจะออกใบใหม่ได้ทันและจะเริ่มตั้งท้องประมาณวันที่ 20 - 25 กันยายน) สำหรับการ
ตัดครั้งที่ 3 ให้ระมัดระวังและสังเกตเป็นพิเศษ ถ้าไม่มั่นใจคือก่อนจะทำการตัดใบข้าวให้ทำการผ่าต้นข้าวดูก่อน
ถ้าต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง (ต้นข้าวจะมีลักษณะกลมมีข้อปล้อง) ห้ามตัดใบข้าวอย่างเด็ดขาด
2. ถ้าทำนาก่อนเดือนพฤษภาคม ให้ทำการตัดใบข้าวในช่วงเดียวกัน แต่ให้ระวังในการตัดใบ
ข้าวในช่วงที่ 3 เพราะต้นข้าวจะแก่ลำต้นข้าวจะแข็งและตั้งท้องเร็วกว่าปกติเล็กน้อย
3. ให้ทำการใส่ปุ๋ยตามระยะการปลูกข้าวปกติ
วิธีการตัดใบข้าว
1. การใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดสะพายหลังที่มีใบมีดคมๆ โดยตัดที่ตำแหน่งเหนือสะดือของต้นข้าว
(สูงกว่าซอกกาบใบของต้นข้าว)
2. ในกรณีการใช้เคียวเกี่ยวใบข้าว ให้วางเคียวขนานกับพื้นดินการเกี่ยวใบออกจะได้ระดับและ
ความสูงสม่ำเสมอกัน
3. ใช้ได้ผลดีทั้งข้าวนาดำและนาหว่าน แต่นาหว่านการตัดใบข้าวทำได้ลำบาก เพราะต้นข้าวจะถี่
ข้อควรระวัง
1. ข้าวกำลังตั้งท้องห้ามตัดใบอย่างเด็ดขาด
2. พื้นที่ปลูกข้าวที่มีลักษณะเสี่ยง เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมได้ง่าย, พื้นที่ดอนหรือแห้งแล้งจัด
เพราะพืชอาจจะโดนน้ำท่วมในกรณีที่ฝนมาเร็วและอาจจะแห้งตายในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง (ควรฟังการพยากรณ์
อากาศด้วย)
3. ห้ามตัดใบข้าวในช่วงข้าวเกิดโรคระบาดเพราะเชื้อโรคอาจจะเข้าทางรอยแผลหรือไปกับน้ำ
ซึ่งจะทำให้โรคระบาดได้เร็วขึ้น
ข้อดีของการตัดใบข้าว
1. ลดปริมาณของใบข้าว, ตัดใบข้าวแก่ที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย
2. ช่วยกำจัดวัชพืช (หญ้า) ได้ เป็นการตัดวงจรของวัชพืชได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยลดการระบาดของโรค แมลงศัตรูพืชบางชนิดได้
4. ใบข้าวที่ตัดออกจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้อย่างดีหรือจะนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ก็ได้
5. ทำให้ข้าวมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเมล็ดข้าวมีน้ำหนักขายได้ราคา
6. ช่วยลดต้นทุนในการผลิต เช่น ปุ๋ย , ยาป้องกันกำจัดโรค แมลง, ยาปราบศัตรูพืช
7. แสงแดดสามารถส่องถึงพื้นน้ำ/ดิน อากาศในดินระบายได้ดีทำให้เกิดการสร้างแหล่งอาหาร
ตามธรรมชาติได้ดี เช่น แพลงต้อน/ไรน้ำ
8. การเก็บเกี่ยวง่ายไม่มีวัชพืชเจือปนกับเมล็ดข้าว
9. เมื่อนำไปจำหน่ายจะได้ราคาที่สูงขึ้นเพราะเมล็ดข้าวสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน
10 .การตัดใบข้าวบางช่วงเวลาสามารถลดปริมาณข้าวดีดข้าวเด้งได้ เนื่องจากไปตัดรวงข้าว
ดีดข้าวเด้งช่วงออกดอกหรือออกรวงแล้วแต่ยังไม่แก่
หมายเหตุ
1. การคิดระยะการตัดใบข้าวใช้ข้าวหอมมะลิเป็นหลัก ข้าวชนิดอื่นปรับระยะตามความเหมาะสม
2. การตัดใบข้าวจะตัด 1- 2 ครั้งก็ได้แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้ง (ให้สังเกตถ้าใบข้าวคลุมหญ้าได้
ก็ไม่ต้องตัดใบข้าวอีก)



1. ข้าววัชพืช คืออะไร ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร
     ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกทั่วไป  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Oryza  sativa L. ใช้ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์  เรียกในที่นี้ว่าข้าวปลูก  เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกคัดเลือกให้มีลักษณะที่ต้องการเช่นผลผลิตสูง  ข้าวสารมีสีขาว ใส คุณภาพหุงต้มนุ่มและหอม  ไปจนถึงร่วนแข็ง  ต้านทานต่อโรคหรือแมลงที่สำคัญ  ข้าวพันธุ์หนึ่งจะมีลักษณะทางการเกษตรต่างๆ  เหมือนกันและคงตัว  คือในพันธุ์เดียวกันจะมีลักษณะ  สีใบ ทรงกอ  ความสูง การออกรวง  สีเปลือก  สีข้าวกล้อง เหมือนกันและคงตัว   และทุกพันธุ์จะมีลักษณะสำคัญคือเมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกันคือหลังบานดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน  พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวและถูกนวดให้หลุดจากรวง  คือจะไม่สุกแก่ก่อนเวลาไม่หลุดร่วงเองได้ง่ายๆ  และข้าวเปลือกจะไม่มีหางหรือถ้ามีก็จะสั้นมาก
            ข้าวป่าเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน  เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีตามธรรมชาติทั้งในที่ลุ่มลึกและบนที่ดอน  ข้าวป่ามีหลายชนิดและที่มีความสำคัญและคาดว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ของข้าววัชพืชมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Oryza  rufipogon Griff.   ข้าวป่าแม้จะสามารถแบ่งเป็นหลายชนิด  ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ  แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิดคือ  เมล็ดในรวงเดียวกันสุกแก่ไม่พร้อมกันตั้งแต่ 9-30 วัน  เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง  เมล็ดมีระยะพักตัวหลากหลายตั้งแต่ไม่มีระยะพักตัวไปจนถึงระยะพักตัวหลายปี  เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าวป่าจะมีหลากหลายสี  เมล็ดอาจมีหางยาวมากกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ด และมีหลายสี
                 “ข้าววัชพืชมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า weedy rice เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในนาภาคกลางจนถึงภาคเหนือตอนล่าง มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะกล้า  มีชื่อเรียกต่างๆกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะของข้าววัชพืชที่ปรากฏเช่น ข้าวหาง เนื่องเมล็ดมีหางยาว  ข้าวดีด ข้าวเด้ง เนื่องจากเมื่อเมล็ดแก่ และถูกลมพัดหรือคนไปสัมผัส เมล็ดจะร่วง ข้าวลาย เนื่องเมล็ดมีเปลือกลาย ข้าวแดง เนื่องจากเมื่อแกะเมล็ดจะพบว่าเมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง  ดาวกระจาย เนื่องจากลักษณะรวงจะกางออกและเมื่อเมล็ดแก่จะร่วงและกระจายไปรอบๆ เป็นต้น เคยระบาดในประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา   นครศรีธรรมราช   ปราจีนบุรี  และพิษณุโลกในปี 2518 ความเสียหายที่จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 80% แต่ก็มีการจัดการได้ซึ่งสมัยนั้นโดยการเผาฟาง เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ การเขตกรรมโดยการไถล่อข้าววัชพืชหลายครั้ง เนื่องจากชาวนายังทำนาปีละ  1  ครั้งเท่านั้น  และพบการระบาดรุนแรงอีกครั้งเมื่อปี 2544 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปัจจุบัน ข้าววัชพืชขยายวงกว้างของการระบาดออกไปเรื่อย ๆ จากการสำรวจข้อมูลการระบาดของข้าววัชพืชในฤดูนาปี 2550 พบการระบาดในพื้นที่นาของประเทศไทยถึง  19.2  ล้านไร่
ความแตกต่างของ ข้าวปลูก ข้าวป่า และข้าววัชพืช
ข้าวปลูก
ข้าวป่า
ข้าววัชพืช
เมล็ดยาว
เมล็ดสั้นป้อม 
เมล็ดสั้นป้อม - เมล็ดยาว
ไม่มีหาง
หางยาวกว่า 10 เท่าของเมล็ด
ไม่มีหาง-หางยาว
ออกรวงใกล้เคียงกัน
ออกรวงไม่พร้อมกัน
ออกรวงไม่พร้อมกัน
สุกแก่พร้อมกันทั้งรวง
สุกแก่ไม่พร้อมกันทั้งรวง
สุกแก่ไม่พร้อมหรือพร้อมกัน
ข้าวเต็มเมล็ด> 95 %
ข้าวเต็มเมล็ด 5-10 %
ข้าวเต็มเมล็ด 50-95 %
เมล็ดร่วงยากปานกลาง 
เมล็ดร่วงง่าย 
เมล็ดร่วงง่าย-ร่วงยาก
เมล็ดพักตัว6-8 สัปดาห์ 
เมล็ดพักตัว 3 เดือน - 10 ปี 
เมล็ดพักตัว ไม่พักตัว - 10  ปี 
2. ข้าววัชพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร
จากการศึกษาของหลายหน่วยงานพบว่า ข้าววัชพืชเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ  
(
O. rufipogon L.) กับข้าวปลูก และมีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะ  โดยอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่า และระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืช ลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญแพร่พันธุ์ในแปลงปลูกมีลักษณะส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา
3. การจำแนกข้าววัชพืช
สามารถจำแนกตามลักษณะภายนอกของข้าววัชพืชได้เป็น 3 ลักษณะ  ดังนี้
ข้าวหางหรือข้าวนก
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสึน้ำตาลเข้ม  มีหางยาว  หางอาจจะมีสีแดงหรือขาวในระยะข้าวยังสด  เมล็ดร่วงก่อนเก็บเกี่ยว  สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงไปจนถึงขาว
ข้าวแดงหรือข้าวลาย 
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้มไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง  เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง  เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว  แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง
ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็วโดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังบานดอก 9 วันเป็นต้นไป  เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือไม่มีหาง  ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง  สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว
4. สาเหตุการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช                                 
การแพร่ระบาดของข้าววัชพืช  มาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ
 
4.1 ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวเนื่องจากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวจากแหล่งไม่มีคุณภาพ ในรอบ 1 ปี ชาวนามีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณกว่า  1  ล้านตัน แต่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เชื่อถือได้   ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ได้มาตรฐานได้ไม่เกิน  15  % ของความต้องการของชาวนาเท่านั้น อีก 85 % ชาวนาจำเป็นต้องเสี่ยงในการหาซื้อเมล็ดพันธุ์เองตามร้านค้าและแหล่งผลิตเอกชน  ซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐานและมีเมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย
4.2 ติดมากับอุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือเตรียมดินเก็บเกี่ยวหรือภาชนะบรรจุข้าว โดยเฉพาะรถเกี่ยวนวดข้าว  เมื่อไปเกี่ยวข้าวในแปลงที่มีการระบาดของข้าววัชพืชรุนแรง เมล็ดข้าวที่ติดมากับรถเกี่ยวนวด มีจำนวนประมาณ  2-5  ถัง ซึ่งมีโอกาสที่เมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย และมาร่วงหล่นในนาแปลงใหม่ที่รถเกี่ยวนวดข้าวลงทำงาน
4.3 ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาจากนาข้าว เช่น ฟาง แกลบ ขี้เถ้าแกลบ หน้าดินผสมจากท้องนา ซึ่งเมล็ดข้าววัชพืชมีคุณสมบัติอยู่ได้นานในสภาพต่าง ๆ
4.4 การแพร่ไปกับน้ำ ในระบบชลประทาน (ข้าวหาง ข้าวครึ่งเมล็ด) ลอยไปกับน้ำลงสู่แปลงนาได้  
4.5 ติดไปกับอาหารเสริมของเป็ดที่ปล่อยในนาข้าว ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกที่มีราคาถูก มีสิ่งเจือปน
5. ลักษณะของข้าววัชพืชที่ทำให้เป็นปัญหาร้ายแรง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าข้าววัชพืชมีลักษณะต่างๆที่คล้ายหรือแตกต่างกับข้าวปลูกอย่างไรบ้าง แต่ลักษณะสำคัญที่ทำให้ข้าววัชพืชเป็นวัชพืชร้ายแรง ดังนี้
5.1 ข้าววัชพืชมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว  มีความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่าข้าวปลูก  ข้าววัชพืชอาจมีความสูงมากกว่าข้าว  จึงมีความสามารถในการแก่งแย่งธาตุอาหารและแสงแดดมากกว่าข้าว  ข้าววัชพืชที่ต้นสูงจะล้มทับข้าวในระยะออกรวงทำให้ต้นข้าวปลูกเสียหาย
5.2 ข้าววัชพืชบางชนิดออกดอกเร็วกว่าข้าวปลูกและเมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อน  จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก  ทำให้มีเมล็ดสะสมอยู่ในแปลงนา  ซึ่งจะเพิ่มความหนาแน่นมากขึ้นในฤดูต่อไป